เพิ่งขึ้นคอนเสิร์ต 10ปี PSU Phuket class 43 มาครับ

เพิ่งขึ้นคอนเสิร์ต 10ปี PSU Phuket class 43 มาครับ

วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

ไดอารี่เรียนกฎหมายป.โท ตอนที่ 5

หลังจากวันที่ท่านเจ้าคุณเสียชีวิตลง บรรดาลูกทั้ง 4 ของท่านต่างใจจดใจจ่อรอคอยวันนี้ให้มาถึงไวไว
วันนี้ วันที่ทนายความประจำตระกูลจะเปิดพินัยกรรมออกอ่าน เพื่อชี้แจงถึงมรดกที่แต่ละคนจะได้รับ
รถราคาแพงยี่ห้อหรูนับ10คันจอดเต็มลานหน้าบ้าน ทั้งลูกชายหญิง ลูกเขย-สะใภ้ หลานและเหลน
รวมเกือบ 50 คนต่างพร้อมกันที่โถงประชุมใหญ่กลางบ้านหลังโต ทุกคนต่างหวังที่จะได้มีส่วนในมรดกร้อยล้าน
ในขณะที่ทนายกำลังเปิดพินัยกรรม เหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิดก็เกิดขึ้น...

วิชชุพลภาพยนต์ นำเสนอไดอารี่วันนี้ในท้องเรื่อง "มรดก"

ในประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ว่าด้วยเรื่องมรดกอยู่ในบรรพที่ 6 มีอยู่ 6 ลักษณะคือ
ลักษณะ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
ลักษณะ 2 สิทธิโดยธรรมในการรับมรดก
ลักษณะ 3 พินัยกรรม
ลักษณะ 4 วิธีจัดการและปันทรัพย์มรดก
ลักษณะ 5 มรดกที่ไม่มีผู้รับ
ลักษณะ 6 อายุความ

และเพื่อให้เข้ากับท้องเรื่องของเราวันนี้ เราขอเสนอตอน "ลำดับชั้นการรับมรดก"
การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาท โดยธรรมในลำดับและชั้นต่าง ๆ
มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับ แห่ง มาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดัง ต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย
(6) ลุง ป้า น้า อา
คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของ บทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635
มาตรา 1635 ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการ รับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดังต่อไปนี้
(1) ถ้ามีทายาทตาม มาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับ มรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่ง เสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร
(2) ถ้ามีทายาทตาม มาตรา 1629 (3) และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือถ้าไม่มีทายาทตาม มาตรา 1629 (1) แต่มี ทายาทตาม มาตรา 1629 (2) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง
(3) ถ้ามีทายาทตาม มาตรา 1629 (4) หรือ (6) และทายาทนั้น ยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือมีทายาทตาม มาตรา 1629 (5) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ มีสิทธิได้มรดกสองส่วนในสาม
(4) ถ้าไม่มีทายาทดั่งที่ระบุไว้ใน มาตรา 1629 คู่สมรสที่ยังมี ชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้รับมรดกทั้งหมด

ตราบใดที่มีทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทน ที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่กรณีในลำดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ใน มาตรา 1629 ทายาทผู้ที่อยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย
แต่ความในวรรคก่อนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใด ยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่กันแล้วแต่กรณีและมีบิดามารดายังมีชีวิต อยู่ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร

คงจะได้ความรู้ไปไม่น้อยนะครับวันนี้ ส่วนบทภาพยนต์ข้างต้นจะลงเอยอย่างไร (โปรดติดตามตอนต่อไป..)

2 ความคิดเห็น: